Sunday, September 19, 2010

ทารกต้องการสัมผัสไออุ่น







วิธีการอุ้มทารก


สิ่งแรกสุดที่คุณควรสังเกตเกี่ยวกับทารกก็คือ ทารกไม่สามารถควบคุมศีรษะตัวเองได้ คุณต้องอุ้มทารกไว้ตลอดเวลา ศีรษะของทารกไม่สามารถเอียงจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งได้ หรือหันหน้าหันหลังได้ เมื่อคุณรับทารกต้องใช้มือทั้งสองข้างประคับประคองศีรษะทารก และขณะที่อุ้มทารกต้องประคองศีรษะด้วยมือคุณตลอดเวลา


ทารกต้องการสัมผัสไออุ่น



ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับลูกน้อย การสัมผัสจะทำให้คุณและลูกน้อยสร้างความสัมพันธ์ที่อบอุ่นต่อกัน


และลูกน้อยของคุณอาจมีปฏิกิริยาต่อการสัมผัสของคุณด้วย ลูกน้อยสามารถรู้สึกรับรู้ถึงความนุ่มนวล ความอบอุ่น


ทารกอาจร้องไห้ได้ถ้าคุณปฏิบัติกับเค้าอย่างไม่นุ่มนวล แต่คุณไม่ต้องกลัวที่จะอุ้มเขย่าและกอดรัด

Labels: , ,

ดูแลลูกน้อยวัยทารก

การคลอดก่อนกำหนดเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ถึงแม้ว่าเป็นเรื่องที่ทำให้คุณกังวลใจและอาจเป็นเรื่องที่คุณไม่เคยคาดคิดมาก่อน การคลอดก่อนกำหนดนั้นมีสาเหตุที่ซับซ้อน โชคดีที่โรงพยาบาลต่างๆในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่พร้อมเพื่อรับกับเหตุการณ์ที่อาจไม่คาดคิดนี้

การคลอดก่อนกำหนด

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีอัตราส่วนประมาณ 100 ใน 1000 ของทารกที่คลอดปกติ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำหนักน้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม ( 3.3 ปอนด์) การคลอดก่อนกำหนดทำให้ผิวหนังของทารกบอบบางกว่าทารกที่คลอดปกติ ซึ่งแพทย์จึงต้องนำทารกเข้าตู้อบและคุณอาจไม่สามารถนำทารกกลับบ้านได้ทันที

ทารกควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษในช่วงเวลานี้ทั้งที่บ้านและที่โรงพยาบาล เพื่อทำให้ทารกเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์เหมือนเช่นทารกที่คลอดปกติ

เมื่อคุณคลอดก่อนกำหนด

สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณทำได้ คือ การดูแลทารกทันทีหลังคลอดและควรใช้เวลากับลูกน้อยให้มากที่สุด ถึงแม้ว่าคุณไม่สามารถอุ้มลูกของคุณได้ในช่วงเวลานี้ แต่คุณสามารถสัมผัสลูกคุณให้มากที่สุดได้ คุณอาจรู้สึกต้องการเติมเต็มบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ คุณอาจมีความรู้สึกเศร้าบ้าง ถ้าคุณถูกแยกออกจากลูกในขณะที่ลูกยังอยู่ที่โรงพยาบาลแต่ว่าคุณกลับบ้านได้แล้ว

สุขภาพของทารกคลอดก่อนกำหนด

ในขณะที่ภายนอกของทารกดูเป็นปกติแต่อย่าเพิ่งไว้วางใจ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีตัวเล็กแต่ว่าทารกมีสุขภาพที่แข็งแรงดี อย่างไรก็ตามอาจมีโอกาสของการเกิดโรคแทรกซ้อนได้หลังคลอด ปัญหาทั่วไป คือ ระบบการหายใจ และอาการเกี่ยวกับสมอง แม้ดูว่าเป็นปัญหาที่น่ากลัวแต่สามารถดูแลรักษาได้

ทารกคลอดก่อนกำหนดต้องการสารอาหารที่ครบถ้วน

ความต้องการสารอาหารของทารกคลอดก่อนกำหนดจะแตกต่างจากทารกที่คลอดปกติ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดต้องการสารอาหารที่ครบถ้วน ได้แก่ โปรตีน AAและDHA วิตามินและแร่ธาตุ ทารกต้องการปริมาณแคลอรี่เพิ่มมากขึ้นด้วยเพื่อพัฒนาการด้านการเจริญเติบโต สารอาหารที่ทารกควรได้รับนี้ควรสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหารและกระเพาะอาหารของทารกที่คลอดก่อนกำหนดด้วย

นมที่ใช้เลี้ยงทารกโดยทั่วไปจะมีสารอาหารไม่ครบถ้วนตามความต้องการของทารกเพื่อการเจริญเติบโต โชคดีที่มีนมสูตรพิเศษที่มีสารอาหารที่พัฒนามาเพื่อช่วยการเจริญเติบโตของทารกที่คลอดก่อนกำหนดโดยเฉพาะ

การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่โรงพยาบาล

ขั้นตอนแรก ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับการดูแลอย่างพิเศษทั้งในเรื่อง ระบบการหายใจ การเต้นของหัวใจ อุณหภูมิร่างกาย โดยทารกอาจต้องอยู่ในตู้อบในช่วงแรก การดูดนมอาจยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจต้องได้รับอาหารทางสายยาง วิธีให้อาหารวิธีนี้จะนำมาใช้แทนการให้นมแม่ ถ้าทารกแข็งแรงพอก็จะได้รับการดูแลเลี้ยงดูตามปกติ และสามารถเลี้ยงด้วยนมแม่หรือนมผสมต่อไปได้

ช่วงระหว่างที่อยู่โรงพยาบาล สิ่งสำคัญ คือ การดูแลทารกเป็นพิเศษ ไม่เช่นนั้นทารกอาจจะมีโรคแทรกซ้อน ทารกที่คลอดก่อนกำหนดโดยทั่วไปสามารถให้นมได้ทั้งนมแม่และนมผสม

เมื่อทารกเริ่มดูดนมได้เอง

ช่วงอาทิตย์แรกหลังคลอด แพทย์จะดูแลทารกเป็นพิเศษ ช่วงเวลานี้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับสารอาหารผ่านทางสายยาง

ทารกคลอดก่อนกำหนดบางคนจะตัวเล็กมาก และต้องการได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้นในช่วง 2–3 อาทิตย์แรก ซึ่งแพทย์จะเป็นคนระบุปริมาณสารอาหารตามความต้องการของทารกแต่ละคน

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจไม่สามารถดูดนมแม่ได้อย่างปกติสมบูรณ์ ทารกอาจได้รับสารอาหารผ่านท่อที่ใส่ทางจมูกหรือทางหน้าท้อง แต่ทารกยังคงมีการขับถ่ายที่เป็นปกติ

วิธีการจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับทารกที่คลอดก่อนกำหนดเหมือนกับทารกที่คลอดปกติ น้ำนมแม่ที่ไหลออกมาจะอุดมไปด้วยสารอาหารที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และนมแม่ยังอุดมไปด้วยสารอาหาร AA และ DHA ที่เป็นกรดไขมันสำคัญ 2 ชนิดที่ช่วยพัฒนาสมอง อารมณ์ และการมองเห็น

นมแม่ช่วยให้ทารกได้รับสารอาหารที่ดี ครบถ้วน และยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการของระบบประสาท นมแม่มีสารอาหารที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อโรค

นมแม่มีประโยชน์ มีปริมาณของโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสารอาหารอื่นๆ ตามความต้องการเพื่อพัฒนาการเจริญเติบโตของทารก

คุณประโยชน์ของน้ำนมแม่

นมแม่ มีสารอาหารที่อุดมไปด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ เพื่อให้ทารกคลอดก่อนกำหนดได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต

จากการศึกษาพบว่า น้ำนมแม่ที่ไหลมาในช่วงแรกจะช่วยให้ทารกคลอดก่อนกำหนดมีน้ำหนัก ส่วนสูง และขนาดศีรษะพัฒนาขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน

นมสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด

การใช้นมสูตรสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดร่วมกับนมแม่นั้น คุณอาจต้องบีบน้ำนมผ่านเครื่องปั๊มนม แพทย์จะช่วยแนะนำในเรื่องการเก็บรักษาน้ำนม นมแม่อาจจะถูกผสมกับนมสูตรพิเศษ โดยใช้ภาชนะบรรจุที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว หลังจากจึงนำไปป้อนให้ทารก ถึงแม้ว่าคุณจะยังไม่สามารถเลี้ยงลูกเองในช่วงนี้ แต่ว่าคุณควรมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารกที่คลอดก่อนกำหนดไว้ด้วย

ระยะเวลาในการใช้นมสูตรพิเศษ สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด

โดยทั่วไปทารกคลอดก่อนกำหนดที่ถูกเลี้ยงด้วยนมสูตรพิเศษนั้น จะใช้นมสูตรพิเศษนี้จนกระทั่งทารกมีน้ำหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม (5.5 ปอนด์) โดยเมื่อคุณออกจากโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะช่วยแนะนำคุณเกี่ยวกับวิธีการให้นมสำหรับทารก

ทำอย่างไรถ้าไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมสำหรับทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อย ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้เหมาะสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะมีการเพิ่มสารอาหาร โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ มากกว่านมสูตรธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต นมสูตรสำหรับทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อย จะมีสารอาหาร AA และ DHA ที่เป็นกรดไขมันจำเป็น 2 ชนิดที่ทารกคลอดก่อนกำหนดต้องการ เพื่อพัฒนาการด้านความคิด สมอง และการมองเห็น

ระยะเวลาที่ทารกต้องการนมสำหรับทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อย คือ ต้องให้จนกระทั่งทารกมีน้ำหนัก 2.5 กิโลกรัม ( 5.5 ปอนด์) เมื่อทารกมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติแล้ว นมผสมสูตรมาตรฐานทั่วไปสามารถนำใช้เลี้ยงทารกได้ คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับสารอาหารที่ทารกต้องการ

การดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนด

ทารกคลอดก่อนกำหนด ต้องการดูแลในขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกันกับทารกปกติทั่วไป แต่อาจจะมีการเลี้ยงดูในบางอย่างที่อาจจะแตกต่างกันบ้าง เช่น การใช้นมสูตรพิเศษที่ช่วยให้ทารกมีการเพิ่มน้ำหนักตัวที่เร็วขึ้น ทารกคลอดก่อนกำหนดบางคนเกิดมาพร้อมปัญหาเกี่ยวกับปอด ทำให้ต้องได้รับออกซิเจนเพิ่มเติมที่บ้าน สำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนดบางคนอาจพบการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ แพทย์จะบอกให้คุณทราบถึงขั้นตอนการดูแลทารกให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง

พัฒนาการของทารกที่คลอดก่อนกำหนด

สิ่งสำคัญที่สุดของทารกคลอดก่อนกำหนด คือ พัฒนาการที่ล่าช้ากว่าแต่เพียงแค่ช่วงแรก หลังจากนั้นทุกอย่างก็จะกลับสู่ภาวะปกติ ทารกอาจจะเริ่มนั่ง คลาน และเดินได้ช้ากว่าทารกที่คลอดปกติ ซึ่งปกติทารกที่คลอดก่อนกำหนด 2 เดือนจะเริ่มเดินได้ตอนอายุ 14 เดือน ซึ่งอาจช้ากว่าทารกที่คลอดปกติที่จะเริ่มเดินตอนอายุ 12 เดือน เป็นต้น

80% ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีพัฒนาการเหมือนทารกปกติเมื่ออายุได้ 2 ขวบ

ช่วงวัยแรกเกิดถึงช่วงวัยหัดเดิน

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีลักษณะตัวที่เล็กและอ่อนแอกว่าทารกที่คลอดปกติ คุณอย่ารู้สึกท้อแท้เพราะว่าช่วงขวบปีที่ 2 ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะเจริญเติบโตได้เท่ากับทารกที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน ทารกที่ตัวเล็กจะวิ่งเล่นกระโดดได้ตามปกติ

หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับทารกคลอดก่อนกำหนด คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Labels: , ,

ตารางการฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก

อายุ
วัคซีนที่อยู่ในแผนการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ของกระทรวงสาธารณสุข
วัคซีนที่อยู่นอกแผนการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ของกระทรวงสาธารณสุข
อาการแทรกซ้อน

และข้อแนะนำ

แรกเกิด
1. วัณโรค

2. ตับอักเสบบี เข็มที่ 1
-
- ถ้ามารดาเป็นพาหะของตับ

อักเสบบี ควรให้วัคซีนเร็วที่สุด

1 เดือน
1. ตับอักเสบบี เข็มที่ 2
-
- อาจให้ได้เมื่ออายุ 2 เดือน

2 เดือน
1. คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

เข็มที่ 1

2. โปลิโอ หยดครั้งที่ 1
1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบบี เข็มที่ 1

2. นิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต

เข็มที่ 1 (วัคซีนไอ พี ดี)

- หลังให้วัคซีนอาจมีไข้ได้ 1-2 วัน- วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบบีแนะนำให้ใน เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ที่อยู่กันอย่างแออัด หรือในสถานรับเลี้ยงเด็ก

- วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบบีอาจรวมกับวัคซีนคอตีบ ไอกรนบาดทะยัก เป็นเข็มเดียว

4 เดือน
1. คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

เข็มที่ 2

2. โปลิโอ หยดครั้งที่ 2
1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบบี เข็มที่ 2

2. นิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต

เข็มที่ 2 (วัคซีนไอ พี ดี)
- หลังให้วัคซีนอาจมีไข้ได้ 1-2 วัน

6 เดือน
1. คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เข็มที่ 3

2. โปลิโอ หยดครั้งที่ 3

3. ตับอักเสบบี เข็มที่ 3
1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบบี เข็มที่ 3

2. นิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต

เข็มที่ 3 (วัคซีนไอ พี ดี)
- หลังให้วัคซีนอาจมีไข้ได้ 1-2 วัน

- ปัจจุบันมีวัคซีนรวมของคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก กับตับอักเสบบี และสามารถ รวมกับวัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบบีบางชนิดได้

9 เดือน
1. หัด หัดเยอรมัน คางทูม

เข็มที่ 1
-
- หลังฉีด 5-7 วัน อาจมีไข้ มีผื่น1-2 วัน

12-15 เดือน
1. ไข้สมองอักเสบ เข็มที่ 1, 2
1. นิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต

เข็มกระตุ้น หรือ เข็มที่ 4

(วัคซีนไอ พี ดี)
- เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-4 สัปดาห์

18 เดือน

1. คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เข็มกระตุ้นที่ 1

2. โปลิโอ หยอดกระตุ้นที่ 1
-
- หลังให้วัคซีนอาจมีไข้ได้ 1-2 วัน

2 ปี
1. ไข้สมองอักเสบเข็มที่ 3
-
-

3 ปี
-
1. ตับอักเสบเอ

เข็มที่ 1, 2
- อาจให้เมื่ออายุ 4-6 ปี เข็มสองห่างจากเข็มแรก 6-12 เดือน

4 ปี

1. คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เข็มกระตุ้นที่ 2

2. โปลิโอ หยอดกระตุ้นที่ 2
-
- หลังให้วัคซีนอาจมีไข้ได้ 1-2 วัน

5-6 ปี
1. หัด หัดเยอรมัน คางทูม

เข็มที่ 2
-
- หลังฉีด 5-7 วัน อาจมีไข้ มีผื่น 1-2 วัน

6-10 ปี
-
1. ไทฟอยด์
- ไม่แนะนำในเด็กไทย

- แนะนำเมื่อจะเดินทางไปในแดนที่มีการระบาด

10-12 ปี

-
1. สุกใส
- สำหรับคนที่ยังไม่เคยเป็นสุกใสมาก่อน

- หากอายุมากกว่า 12 ปี ต้องฉีด 2 เข็มห่างกัน 4-8 สัปดาห์


เอกสารอ้างอิง กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, อังกูร เกิดพาณิช. คู่มือการใช้วัคซีนสำหรับเด็กไทย 2545. ชมรมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. ครั้งที่ 1. เนติกุลการพิมพ์ (2541) จำกัด: กรุงเทพ, 2545

Labels: ,

โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease)

โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease)
นพ.วัชระ จามจุรีรักษ์



เป็นกลุ่มอาการของโรคที่ประกอบด้วย ไข้สูง, มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเยื่อบุผิว (Mucocutaneous involvement) และต่อมน้ำเหลืองที่คอโตเป็นโรคที่พบในเด็กโดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี



โรคนี้ตรวจพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2504 โดย นายแพทย์ Tomisaku Kawasaki ที่ประเทศญี่ปุ่น และตั้งชื่อว่า Mucocutaneous Lymph Node Syndrome (MCLS) และต่อมาก็พบโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรคคาวาซากิ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบครั้งแรก



ระบาดวิทยา

อุบัติการของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด โดยพบมากแถบเอเชีย โดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับในประเทศไทยก็พบมากขึ้นเรื่อยๆ
โรคนี้พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง (ประมาณ 2:1) และอายุโดยมากน้อยกว่า 4 ปี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 1-2 ปี พบบ่อยที่สุด
โรคนี้มีโอกาสเกิดในครอบครัวเดียวกัน (พี่น้อง) ได้ โดยเมื่อคนหนึ่งเป็นอีกคนจะมีโอกาสเป็นมากกว่าเด็กทั่วๆ ไปและเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้อาจเกิดเป็นซ้ำได้ พบได้ประมาณ 3-5%

สาเหตุ

โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่จากการที่มีอาการค่อนข้างเร็ว, มีไข้สูง, ผื่นตามตัว, ต่อมน้ำเหลืองโต และตาแดง จึงคาดว่าโรคนี้น่าจะเกี่ยวกับการติดเชื้อหรือเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิต้านทานผิดปกติ (Immunologic disease)

อาการและอาการแสดงของโรค

1. ไข้: ผู้ป่วยจะมีไข้สูง และสูงเป็นพักๆ นาน 1-2 สับดาห์ บางรายนานถึง 3-4 สัปดาห์
2. ตาแดง: ตาขาวจะแดงโดยไม่มีขี้ตา เกิดหลังมีไข้ประมาณ 1-2 วันและเป็นอยู่นานประมาณ 1-2 สัปดาห์
3. มีการเปลี่ยนแปลงของริมฝีปาก: จะมีริมฝีปากแดง, แห้ง และผิวหนังที่ริมฝีปากจะแตกลอกต่อมา ลิ้นจะแดงคล้ายลูกสตอร์เบอรี่ (strawbery tongue)
4. มีการเปลี่ยนแปลงที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า: โดยจะบวมแดง ไม่เจ็บ หลังจากนั้นจะมีการลอกของผิวหนังบริเวณปลายของเล็บมือและเท้า(ประมาณ 10-20 วัน หลังมีไข้) และลามไปที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางรายเล็บอาจหลุดได้ หลังจากนั้น 1-2 เดือน จะมีรอยขวางที่เล็บ (transverse groove; Beau's line) ซึ่งจะช่วยในการวิเคราะห์โรคมาก
5. ผื่นตามตัวและแขนขา: มักเกิดหลังจากมีไข้ได้ 2-3 วัน โดยผื่นมีได้หลายแบบ ไม่คัน
6. ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอโต: พบประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย ไม่เจ็บ อาจพบข้างเดียวหรือสองข้างของลำคอก็ได้ โดยมีขนาดเกินกว่า 1.5 เซนติเมตร
7. อาการแสดงอื่นๆ ที่อาจเกิดร่วมด้วย: ได้แก่ ปวดตามข้อ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ, ท้องเสีย, ปอดบวม เป็นต้น

โรคนี้หายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่ถ้าให้ยาแอสไพริน จะทำให้ไข้และอาการลดเร็วมากขึ้น

ปัญหาสำคัญของโรคคาวาซากิ คือ เกิดโรคแทรกซ้อนหรือลุกลามไปที่ระบบอื่นๆ ดังกล่าวแล้ว ที่สำคัญคือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (coronary artery) ได้ โดยพบประมาณ 20-30% ถ้าไม่ได้รับการรักษา

ความผิดปกติของหัวใจที่เกิดจากโรคนี้คือ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ, ลิ้นหัวใจรั่วและเส้นเลือดแดงเลี้ยงหัวใจ (coronary artery) อักเสบ แล้วเกิดเป็นเส้นแดงเลือดพองโต (aneurysm) ซึ่งเส้นแดงเลือดพองโตนี้อาจเป็นที่เส้นเลือดเดียว,ตำแหน่งเดียว หรือเป็นที่เส้นเลือด 2-3 เส้น และ หลายตำแหน่งก็ได้ โดยพบในช่วง 10-28 วันของโรค

ผลที่เกิดตามมาคือ อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่ดี และหัวใจวายได้ ส่วนเส้นเลือดที่โป่งพองก็อาจเกิดการอุดตันจากลิ่มเลือด ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน ถ้าเป็นมากก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ พบประมาณ 1-2%

การวินิจฉัยโรค

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ และปัจจุบันยังไม่มีการตรวจ ตลอดจนผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการใช้เป็นเครื่องชี้เฉพาะของโรคนี้ได้ ต้องอาศัยกลุ่มอาการของโรคและการวินิจฉัยแยกโรคเป็นการให้การวิเคราะห์โรค โดยอาศัยหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย ดังนี้
1. ไข้สูง และสูงนานเกิน 5 วัน ติดต่อกัน
2. มีอาการและอาการแสดงดังต่อไปนี้
ก. มีการบวมแดงของฝ่ามือ ฝ่าเท้า
ข. มีผื่นตามตัว
ค. ตาแดง 2 ข้าง โดยไม่มีขี้ตา
ง. ริมฝีปากแห้งแดง, อุ้งปากและลิ้นแดง
จ. ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
3. แยกจากโรคอื่นออกได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ: ในรายที่เป็นมากคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจผิดปกติได
2. ถ่ายภาพรังสีทรวงอก: บางรายเงาหัวใจอาจโตเนื่องจากมีน้ำที่ช่องเยื่อหุ้มหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
3. การทำ ultrasound ของหัวใจ (Echocardiogram): การทำ Ultrasound หัวใจหรือ Echocardiogram จะมีประโยชน์มากเพราะจะช่วยในการวินิจฉัยว่าโรคนี้ลุกลามไปที่หัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ โดยถ้ามีการลุกลามไปที่หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจ (coronary artery) ก็จะเห็นมีการโป่งพอง (aneurysm) ตลอดจนอาจเห็นว่ามีลิ่มเลือดอยู่ในเส้นเลือดส่วนที่โป่งพองได้ (รูปที่ 7) และก็ยังสามารถบอกได้ว่ามีการรั่วของลิ้นหัวใจหรือไม่อีกด้วย นอกจากนี้ยังใช้ในการติดตามความรุนแรงของโรค และติดตามผลการรักษา
4. การสวนหัวใจและฉีดสี: เพื่อดูการทำงานของหัวใจและความผิดปกติของเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจ (coronary artery) ว่ามีการโป่งพองหรือตีบแค่ไหน
5. การตรวจหัวใจด้วยวิธี Myocardial Scanning: เพื่อตรวจดูว่าการไหลเวียนของเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติหรือไม่ ซึ่งถ้าผิดปกติก็แสดงว่าน่าจะมีเส้นเลือดส่วนนั้นตีบหรืออุดตัน
6. การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แสดงว่ามีการอักเสบ หรือการดำเนินของโรคอยู่ เช่น เกล็ดเลือดสูง, ESR หรือ CRP ที่สูงกว่าปกติ, ระดับ albumin ที่ต่ำผิดปกติ เป็นต้น

การรักษา

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ จึงยังไม่มียาเฉพาะใช้รักษาโรค แต่การรักษาด้วยอิมมูโนโกลบุลินชนิดฉีด (intravenous immunoglobulin, IVIG) สามารถลดความรุนแรงและอุบัติการโรคแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือดลงได้ เหลือเพียง 5-7% เท่านั้น

การรักษาแบ่งเป็น 2 ระยะ

1. การรักษาในช่วงเฉียบพลัน
ให้การรักษาโดยให้ ้ IVIG ขนาด 2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. ร่วมกับรับประทานยาแอสไพริน (aspirin) ขนาด 80-120 มก./กก./วัน

2. การรักษาในช่วงไม่เฉียบพลันและต่อเนื่อง
ให้ aspirin ขนาด 3-5 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน รับประทานหลังไข้ลดลงนานประมาณ 2 เดือน
ถ้าผู้ป่วยมีเส้นเลือดโป่งพอง จะต้องให้ติดต่อไปนานจนกว่าเส้นเลือดโป่งพองจะกลับเป็นปกติ บางรายต้องได้รับยานานหลายปี

ในรายที่มีเส้นเลือดโป่งพองขนาดใหญ่มาก เช่น ใหญ่กว่า 8 มม. อาจมีก้อนเลือดอยู่ภายใน หรือสงสัยว่าจะมีลิ่มเลือดอยู่ภายใน จะต้องให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยากันเลือดแข็งตัวร่วมด้วยกิน aspirin โดยให้จนกว่าจะหายหรือขนาดของเส้นเลือดโป่งพองลดลงอยู่ในขนาดที่ปลอดภัยจึงหยุดยากันเลือดแข็งตัว
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Tuesday, 23 May 2006 )

Labels: ,